มาร่วมตีแผ่กระแสที่แรงที่สุดในสังคม กับรายการโหนกระแสthaich3ช่อง 3 กด 33
ติดต่อเราfacebooktiktokxyoutube
honekrsaaehonekrsaae
thaich3ช่อง 3 กด 33honekrsaae
ข่าวกำลังโหน
โหนทุกข่าว
โหนบันเทิง
โหนไปมู
โหนร้องทุกข์
วีดีโอ
search
ปิด
honekrsaae
honekrsaae
มาร่วมตีแผ่กระแสที่แรงที่สุดในสังคม กับรายการโหนกระแส
thaich3ช่อง 3 กด 33
หน้าหลัก
ข่าวกำลังโหน
โหนทุกข่าว
โหนบันเทิง
โหนไปมู
โหนร้องทุกข์
วีดีโอ
Live
ติดต่อเราfacebooktiktokxyoutube

“เป็นหนึ่ง” พาพ่อแม่เด็ก 4 ขวบร้อง สธ. หลังโรงพยาบาลในโคราช วินิจฉัยผิดพลาด จนเด็กเสียชีวิตจากไส้ติ่งแตก


ข่าวด่วน
20 มิถุนายน 25671,090
“เป็นหนึ่ง” พาพ่อแม่เด็ก 4 ขวบร้อง สธ. หลังโรงพยาบาลในโคราช วินิจฉัยผิดพลาด จนเด็กเสียชีวิตจากไส้ติ่งแตก

ต้นอ้อ ชลิดา พะละมาตย์ ประธานมูลนิธิเป็นหนึ่ง ได้พาครอบครัวผู้เสียหาย 2 ราย จาก จ.นครราชสีมา เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกรณีการรักษาพยาบาลที่ผิดพลาดโดยบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จ.นครราชสีมา

 

โดยมี นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียน โดยมีการพูดคุยกับครอบครัวผู้เสียหายและมูลนิธิเป็นหนึ่งราว 1 ชั่วโมง

 

ต้นอ้อ ชลิดา กล่าวว่า ตนได้พาครอบครัวผู้เสียชีวิต 2 รายมาร้องเรียนวันนี้ จากทั้งหมดที่มีข้อมูลประมาณ 10 ราย ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นเหล่านี้จากโรงพยาบาลเดียวกันนี้ ตนไม่โทษทางผู้บริหารของโรงพยาบาล แต่โทษการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เพราะประชาชนที่ร้องเรียนมาก็บอกว่าบุคลากรไม่ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน

 

อย่างเช่น พยาบาลนั่งเล่นมือถือ เท่าที่ทราบมาพบว่า โรงพยาบาลมีหมออยู่ 5 คน ซึ่งตนเข้าใจว่าบุคลากรทำงานหนัก แต่เมื่อเป็นหมอแล้วก็ต้องอุทิศตนดูแลผู้ป่วยเหมือนญาติของตัวเอง

 

ดังนั้นเรื่องนี้ต้องถอดบทเรียนเพื่อแก้ไข โดยสิ่งสำคัญคือประชาชนจะไว้ใจการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลได้หรือไม่ เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์ที่มีการเสียชีวิตขึ้น ทางโรงพยาบาลก็ทำให้บริการรักษาตามปกติ และยังไม่มีการเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต วันนี้ตนจึงมาเพื่อขอให้ทาง สธ. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา

 

ด้าน นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวว่า จากกรณีที่มูลนิธิเป็นหนึ่งได้พาครอบครัวผู้เสียหายมาร้องทุกข์วันนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุข จะเร่งดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการประชุมกันในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ คาดว่าหลังประชุมก็จะทราบผลในเบื้องต้นแล้ว

 

ตนยังไม่สามารถระบุได้ว่ากรณีที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น เป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ขอให้รอผลจากคณะกรรมการก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น ก็จะต้องมีการชดเชยเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในมาตรา 41 เพื่อการเยียวยาผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

 

โดยจะมีการพิจารณาจากข้อมูลข้อเท็จจริงและแจ้งญาติเพื่อรับเงินเยียวยาตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของครอบครัวผู้เสียชีวิตมาก ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จะส่งบุคลากรลงพื้นที่ไปดูแลญาติและครอบครัวผู้เสียชีวิตต่อไป

 

นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวด้วยว่า วันนี้มีกำนันเป็นตัวแทนชาวบ้านมาด้วย เพราะอยากมาแจ้งเรื่องที่มีการร้องเรียนปัญหา มาตรฐานการรักษาพยาบาลของบุคลากรในโรงพยาบาลดังกล่าว เราก็รับฟังเพื่อถอดบทเรียนไปแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก

 

“สิ่งที่ต้องยอมรับคือจำนวนบุคลากรที่ทำงานมีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้ป่วย ทำให้บางครั้งหมอเองก็อาจจะเหนื่อย ขอให้ผู้ป่วยเห็นใจในส่วนนี้ แต่เราก็ยอมรับในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้เช่นกัน” นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวและว่า เพื่อให้เกิดการปฏิบัติ ตนและทีมงานจะลงพื้นที่ไปสุ่มตรวจแต่ละโรงพยาบาล เพื่อดูว่าผู้รับบริการได้รับการดูแลตามมาตรฐานหรือไม่

 

ขณะที่ แม่ของเด็กหญิงวัย 4 ขวบที่เสียชีวิต กล่าวว่า ตนและครอบครัวเชื่อว่าที่ลูกเสียชีวิตเนื่องจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของแพทย์ โรงพบาบาลแห่งหนึ่ง ทำให้ลูกได้รับการรักษาช้าจนเสียชีวิต

 

เหตุการณ์เริ่มจากเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2567 ลูกมีอาการไข้ ตัวร้อน แพทย์ทำการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้ให้ครอบครัวรับยาและกลับบ้าน ในระหว่างที่อยู่บ้านแม่สังเกตเห็นอาการลูกแย่ลง

 

 

จนวันที่ 29 ม.ค.2567 ลูกเริ่มหอบ หายใจติดขัด จึงพาลูกกลับไปที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เวลาประมาณ 19.00 น. แพทย์เข้ามาทำการตรวจวินิจฉัยพร้อมทำการเจาะเลือด ซึ่งบอกว่าต้องรอผลตรวจ 1 อาทิตย์ และให้ลูกนอนโรงพยาบาลซึ่งขณะนั้นลูกเริ่มปวดท้องหนัก งอแง และมีพยาบาลมาตรวจ บอกว่า ลูกสาวจะเป็นไส้ติ่ง

 

ต่อมาเช้าวันที่ 30 ม.ค.2567 ทางทีมแพทย์ให้ยาแก้ปวด ลดไข้ จนเวลาประมาณ 12.00 น. ทางโรงพยาบาลได้ทำเรื่องส่งตัวไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จนช่วงเช้าวันที่ 31 ม.ค.2567 ทีมแพทย์โรงพยาบาลมหาราช ได้ตรวจด้วยการเอกซเรย์และนำลูกเข้าห้องผ่าตัด

 

จนเวลาประมาณ 12.00 น. แพทย์แจ้งลูกสาวเสียชีวิตในระหว่างการผ่าตัด ด้วยสาเหตุ ติดเชื้อในกระแสเลือด ไส้ติ่งแตก ซึ่งทางครอบครัวมองว่า กระบวนการรักษาทั้งหมด มาจากการที่ทีมแพทย์ในโรงพยาบาลแรกที่เข้ารับการรักษาไม่สามารถวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องได้ทำให้การรักษาล่าช้าและลูกสาวต้องเสียชีวิต

 

หลังเกิดเหตุทางโรงพยาบาลไม่เคยติดต่อชี้แจงใด ๆ กับครอบครัวเลย ตนจึงได้เข้ามาร้องเรียนเพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นกับครอบครัวใดอีก

 


แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ไส้ติ่ง#ไส้ติ่งแตก#ไส้ติ่งอักเสบ#โหนกระแส